โดรนพ่นยามีข้อดี และข้อเสียอย่างไร ควรใช้เพื่อทำการเกษตรหรือไม่

387

โดรนพ่นยาถือเป็นการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้กับการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทำให้ปัจจุบันมีการใช้โดรนเพื่อการเกษตรอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นการทำนานทำไร่ ใช้ทั้งหว่านปุ๋ย และพ่นยา ซึ่งการใช้โดรนนั้นก็มีทั้งข้อดี และข้อเสียส่วนจะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย

ข้อดีของการใช้โดรนพ่นยา

โดยทั่วไปแล้วการหว่านปุ๋ย พ่นยากำจัดศัตรูพืช ลงบนไร่นาพื้นที่ทำการเกษตรหากใช้แรงงานคนในการทำจำนวนประมาณ 10 ไร่ ต้องใช้เวลาทำที่นานหลายชั่วโมงกว่าจะเสร็จ การจ้างแรงงานหากต้องการให้พ่นยาอย่างทั่วถึงก็จำเป็นต้องเสี่ยงกับผลผลิตที่เสียหายมากขึ้นเช่น การพ่นยาในนาข้าวก็ต้องมีการย้ำลงในแปลง นอกจากนี้สารเคมีที่ฟุ้งกระจายยังส่งผลต่อร่างกายของแรงงานอีกด้วย แต่หากใช้โดรนหว่านปุ๋ย หรือพ่นยา ให้ประสิทธิภาพที่ดี พ่นได้ทั่วถึงกว่า ทำให้สามารถประหยัดเวลาได้ โดยใช้เวลาพ่นเพียงแค่ประมาณ 1 นาทีต่อไร่ และใช้คนควบคุมโดรน 1-2 คนเท่านั้น

ข้อเสียในการใช้โดรนหว่านปุ๋ย –พ่นยา

ข้อเสียของการใช้โดรนพ่นยาคือจะมีค่าใช้จ่ายประมาณไร่ละ 120 บาท เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับการใช้แรงงานคนซึ่งจะมีค่าจ้างอยู่ที่ประมาณคนละ 50 บาทต่อไร่ การใช้โดรนก็จะใช้ต้นทุนที่สูงกว่า นอกจากนี้การบังคับโดรนด้วยตัวเองยังจำเป็นต้องเรียนรู้เพราะมีระบบการใช้งานที่ซับซ้อน และยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มเติมเช่นค่าแบตเตอรี่ที่มีราคาแพง ค่าซ่อมแซมอื่น ๆ หากโดรนขัดข้อง เครื่องเสีย หรือเกิดอุบัติเหตุ รวมไปถึงการที่โดรนบรรทุกน้ำยาแต่ละรอบได้ไม่มาก อาจจะต้องจำเป็นต้องเติมน้ำยาบ่อย ๆ

โดรนมี 3 ประเภท คือ

Multirotor UAVs – มีความคล่องตัว ใช้งานสะดวก ไม่ต้องใช้รันเวย์ หรือพื้นที่ในการบินขึ้นลง เหมาะสำหรับใช้งานทั่วไป

Fixed-wing drones – มีความเร็วที่สูง บินได้นานกว่า โดรนประเภทนี้จึงเหมาะกับการใช้งานกับพื้นที่ขนาดกว้าง แต่หากจะใช้งานต้องมีรันเวย์ในการขึ้นลง

Hybrid model – โดรนประเภทนี้พบเห็นได้ไม่บ่อยนัก เป็นโดนรนที่มีทั้งความเร็ว บินได้นาน บินได้สูงกว่าทั้งสองแบบก่อนหน้านี้ และไม่จำเป็นต้องมีรันเวย์ในการบินขึ้นลง

เมื่อพิจารณาดูข้อดีข้อเสียของโดรนพ่นยาแล้ว ก็จะเห็นได้ว่าการใช้โดรนอาจจะมีค่าใช้จ่ายที่มากกว่า แต่ในแง่ของประสิทธิภาพ และการประหยัดเวลานั้นจะดีกว่า ซึ่งการจะเลือกใช้นั้นก็ควรต้องดูความเหมาะสมเป็นหลักเช่นหากมีพื้นที่เพาะปลูกที่กว้างมากการใช้โดรนก็จะคุ้มกว่า แต่หากเป็นพื้นที่เพาะปลูกเล็ก ๆ การใช้แรงงานคนก็ดูจะเหมาะกว่า