5 สัญญาณอันตรายระหว่างตั้งครรภ์ เสี่ยงเสียลูกน้อย

22

คุณแม่ตั้งครรภ์คงรู้สึกตื่นเต้นและตั้งตาตั้งตาคอยให้ได้พบหน้าลูกน้อย แต่ด้วยระยะเวลานานถึง 9 เดือนที่ทารกอยู่ในครรภ์ อาจเกิดภาวะผิดปกติได้ คุณแม่จึงทำความเข้าใจภาวะที่อาจเกิดขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ จะได้ไม่ตื่นตะหนกหากเกิดอาการ

 

อาการผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์ 

การตั้งครรภ์มีระยะเวลาประมาณ 9 เดือน คุณแม่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งเรื่องฮอร์โมนและรูปลักษณ์ภายนอก อาจส่งผลให้เกิดการผิดปกติต่างๆ อาทิ 

1.มีเลือดออกจากช่องคลอด 

ถ้าเกิดขึ้นในช่วงแรกให้ระวังเรื่องของการแท้ง การตั้งครรภ์นอกมดลูก การตั้งครรภ์ไข่ปลาอุ โดยในไตรมาสหลังจะให้คุณแม่ตั้งครรภ์ระวังเรื่องของการเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด เรื่องของรกรอบตัวทารก รกเกาะต่ำ ซึ่งคือสัญญาณแรกของอาการเลือดออกจากช่องคลอด 

 2.ปวดท้องน้อย 

อาการปวดท้องในช่วงแรกอาจเกิดขึ้นจากการที่มดลูกของคุณแม่ตั้งครรภ์ขยายตัว มีอาการตึงๆ ปวดๆ มีอาการปวดเป็นบางครั้งแต่ไม่ตลอด แต่ หากสมมุติว่าปวดด้านใดด้านหนึ่ง ปวดตลอดเวลา และปวดมากขึ้นเรื่อยๆ หรือมีอาการไข้ร่วมด้วย ให้ว่าอาจจะมีก้อนซีสต์ที่รังไข่ แล้วเกิดลักษณะบิดขั้ว หรือเป็นไส้ติ่งอักเสบ หรือท้องนอกมดลูก ส่วนอาการปวดท้องในช่วงหลัง คือ การเจ็บครรภ์ก่อนกำหนด และการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ท่อไต กรวยไตอักเสบ  

 3.เจ็บครรภ์ก่อนกำหนด 

เมื่อใดก็ตามที่คุณแม่ตั้งครรภ์เจ็บท้องก่อน 37 สัปดาห์ ในทางการแพทย์ถือว่าคลอดก่อนกำหนด มักจะมีอาการ เช่น ปวดท้องเป็นพักๆ พร้อมกับเวลาที่มดลูกหดรัดตัว, ปวดหลังร้าวลงไปถึงบริเวณก้นกบ ร่วมกับมีปวดท้องเป็นพักๆ, ปวดท้องในอุ้งเชิงกราน อาจร้าวลงไปที่ต้นขา, มีน้ำไหลออกทางช่องคลอด, มีมูกเลือด หรือเลือดออกทางช่องคลอด 

4.อาการครรภ์เป็นพิษ 

อาการครรภ์เป็นพิษ จะมี 3 อาการหลักคือ 1).ปวดศีรษะจะมีอาการปวดบริเวณขมับ หน้าผาก และด้านท้ายทอย 2).อาการตาพร่า มีลักษณะเห็นแสงแวบแวบและตาพร่า และ3). อาการจุกแน่นลิ้นปี่  โดยจะเป็นอาการใดอาการหนึ่งในสามอาการก็ได้ แต่สองอาการแรกต้องปรากฏ  

5.ทารกในครรภ์ดิ้นน้อยลง 

อาการที่เกิดขึ้นหลังจาก 30 สัปดาห์ ทารกในครรภ์จะดิ้นเป็นเวลา ดิ้นถี่ขึ้น สม่ำเสมอมากขึ้น โดยใน 1 ชั่วโมง ต้องดิ้นหรือกระแทก 4 ครั้งขึ้นไป ถ้าชั่วโมงแรกไม่ถึง 4 ครั้ง ให้นับชั่วโมงที่สอง ไม่ครบ 4 ครั้ง ก็ให้คิดว่ามีปัญหา เช่น อาจเกิดอาการสายสะดือพันคอ อาจเกิดการเสียชีวิตในครรภ์ได้  

อาการเหล่านี้มักพบได้บ่อยในคุณแม่ตั้งครรภ์ และอาจจะไม่เกิดขึ้นกับทุกคน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายรวมถึงสภาพจิตใจด้วย อีกทั้งการดูแลตัวเองของคุณแม่ระหว่างที่กำลังตั้งครรภ์